วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

Gripen กับการรักษาผลประโยชน์ทางทะเล

Gripen กับการรักษาผลประโยชน์ทางทะเล

เมื่อไม่กี่วันก่อน แอดมินได้มีโอกาสไปเห็นความคิดเห็นหนึ่ง เกี่ยวกับการจัดหาเครื่องบินขับไล่แบบ JAS-39C/D Gripen ของกองทัพอากาศ กับการรักษาผลประโยชน์ทางทะเลของชาติ ว่าควรจะเป็นเรื่องของกองทัพเรือมากกว่ากองทัพอากาศ จากความเห็นดังกล่าว แอดมินขออธิบายคร่าวๆ ดังนี้ครับ

ก่อนอื่นต้องขอพูดก่อนว่า การรักษาผลประโยชน์ทางทะเลของชาติ นั้น ไม่ใช่หน้าที่ของบุคคลเพียงคนเดียว หรือเหล่าทัพเพียงเหล่าทัพเดียว ทุกฝ่ายต้องให้ความร่วมมือซึ่งกันและกัน โดยทางกองทัพอากาศนั้นก็มีส่วนในการรักษาผลประโยชน์ทางทะเลทั้ง 2 ฝั่งมานานแล้ว ซึ่งนี่ก็เป็นหนึ่งในหน้าที่หลักของกองบิน 7 สุราษฎร์นับตั้งแต่สมัยที่ Gripen ยังไม่เข้าประจำการ เพราะฉะนั้นการจัดหา บ. JAS-39C/D เข้าประจำการนั้น เป็นเพียงการเพิ่มขีดสมรรถนะในการป้องกันเท่านั้นเอง

แล้วเครื่องบินรบจะสามารถป้องกันผลประโยชน์ทางทะเลได้อย่างไร?

เป็นที่ทราบกันดีครับ ว่าผืนทะเลไทยนั้นกว้างใหญ่ไพศาล แต่ก็ต้องมีขอบเขตที่จำกัด และนั่นหมายถึงว่าเราจะต้องมี "พื้นที่ทับซ้อน" กับประเทศอื่นๆ อย่างแน่นอน ซึ่งพื้นที่ทับซ้อนที่ว่า มักจะมีปัญหาเกิดขึ้น อาทิ การบุกรุกเข้ามาโดยไม่ได้รับอนุญาต ฯลฯ โดยวิธีการที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องทำการตรวจตราอย่างสม่ำเสมอ แต่ถึงอย่างนั้น ก็ยังคงมีช่องว่างอยู่ นั่นคือความเร็วที่มีจำกัดของเรือผิวน้ำ ซึ่งเครื่องบินรบสามารถไปอุดช่องว่างนั้นได้ด้วยความเร็วของเครื่องบินรบที่มีมากกว่าเรือผิวน้ำเกินกว่า 10 เท่า อีกทั้ง บ. Gripen นั้นยังมีขีดความสามารถที่จะติดตั้งขีปนาวุธต่อสู้เรือผิวน้ำแบบ RBS-15F ที่มีพิสัยยิงกว่า 70 กิโลเมตร พร้อมทั้งระบบ Tactical Data Link ที่สามารถส่งข้อมูลเป้าหมายให้กับเรือผิวน้ำของกองทัพเรืออีกด้วย

เราคุ้มครองผลประโยชน์ชาติทางทะเล
เราพิทักษ์ท้องนภาแดนใต้
และเรา...กองบิน 7
พร้อมเสมอ... เพื่อพี่น้องประชาชน




เครื่องบินขับไล่แบบ JAS-39C/D Gripen สามารถติดตั้งจรวดต่อต้านเรือผิวน้ำแบบ RBS-15F ได้ รวมถึงการปฏิบัติการร่วมกับ Saab-340 AEW นั้น ก็สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการรบมากขึ้นไปอีก เพราะเรดาร์ Erieye นั้น สามารถตรวจจับเป้าหมายได้ทั้งภาคพื้นและภาคอากาศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น